ว่าด้วย พิโค นาโน
ระหว่างที่นั่งเขียนเว็บอยู่สลับไปมาระหว่าง Mac และ Linux มันขัดใจที่มันมีสีบน Linux พอมาบน Mac ก็ไม่มีสีเลยแวะดูสักหน่อยทำให้พบว่า Nano บน Mac มันล้าสมัยมากยังเป็นรุ่น 2.0.x อยู่ บน Ubuntu 16.04 ประมาณ 2.6.x เมื่อเข้าไปดูในเว็บของ nano (https://www.nano-editor.org) มันเป็นรุ่น 2.8.7 ละ แถมมีลูกเล่นเพิ่มขึ้นเยอะแยะเลย เลยมีความคิดจะ update บน Mac สักหน่อยค้นดูวิธีที่ดีที่สุดคือการใช้ brew
$ brew install nano
รอสักครู่มันก็จะทำการติดตั้งให้เรียบร้อย แต่เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วเวลาเราเรียก nano หรือ pico มันยังคงใช้ตัวเก่าอยู่เราต้องแก้ไขเล็กน้อยให้มันเรียกใช้ของเรา nano ตัวเก่ามันจะติดตั้งที่
/usr/bin/nano
และ pico จะเป็น symlink
/usr/bin/pico -> /usr/bin/nano
ครั้งเราจะเข้าไปทำ symlink ใหม่ หรือ เอาตัวใหม่ไปแทนทีเลยมันไม่ได้ทำได้ทันทีแบบง่ายๆ เพราะ Mac จะป้องกันไว้แม้จะเป็น root ก็ไม่สามารถแก้ไขได้นอกจากต้องทำการปลดมันก่อนซึ่งจะยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ทั่วไปยกเว้นคนที่อยากทำจริงๆ ลองค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสั่ง csrutil ดูครับ ซึ่งขั้นตอนคร่าวๆ คือ boot เข้า recovery mode แล้ว สั่ง
$ csrutil disable
แล้วก็ reboot เข้าตามปกติ แต่ทั้งนี้ก็จะทำให้ระบบเราอยู่ในสภาวะอันตรายนะครับ ถ้าใครกล้วก็มาใช้วิธีง่ายๆ ลูกทุ่งๆ ดีกว่า
มาดูวิธีแบบลูกทุ่งๆ สำหรับการใช้ nano ที่ติดตั้งด้วย brew กัน
วิธีแรกเรียกตรงๆ
$ /usr/local/bin/nano
ดูแล้วมันคงไม่สนุกตอนใช้งานต้องพิมพ์ยาวๆ ทุกครั้ง งั้นเรามาทำ alias กัน
bash shell
$ echo 'alias pico=/usr/local/bin/nano' >> ~/.bash_profile
$ echo 'alias nano=/usr/local/bin/nano' >> ~/.bash_profile
zsh shell
$ echo 'alias nano=/usr/local/bin/nano' >> ~/.zshrc
$ echo 'alias pico=/usr/local/bin/nano' >> ~/.zshrc
ปิด แล้ว เปิด shell ใหม่ก็จะใช้ได้ละ หรือ ถ้าขี้เกียจปิด ก็ให้พิมพ์
$ alias pico=/usr/local/bin/nano
ก็ใช้ได้เลยเช่นกัน
คนที่เข้ามาอ่านคิดว่าส่วนใหญ่คงเป็นคนที่ใช้ pico หรือ nano มาก่อน คงมีพื้นฐานการใช้งานมาระดับหนึ่งนะครับ ส่วนที่ความสามารถที่เด่นๆ มีอะไรบ้าง ? ให้ลองเปิด nano ขึ้นมาเลยครับ
การใช้ nano ให้สนุกเราต้องใช้ shortcut key ครับ ซึ่งที่ใช้บ่อยๆ จะขึ้นอยู่ด้านล่างของหน้าต่าง ซึ่งการกด key ลัดจะมี key หลักสอง key คือ
- ^ หรือ Control
- M หรือ Meta
Control นี่ไม่มีปัญหาบน Mac และ Linux กดได้เหมือนกัน แต่ Meta นี่แหละที่ไม่ได้ทันทีบน Mac ส่วนบน Linux ใช้ Alt ถ้าบน Mac ให้ปรับแต่งตัว terminal เล็กน้อยครับ
Mac terminal
สำหรับ mac Terminal ให้เข้าไปที่ Preferences
แล้วไปยัง profile ที่กำลังใช้งาน และเลือก keyboard และทำการติ๊กที่ช่อง Use Option as Meta key
iTerm2
ส่วนใครที่ใช้ iTerm2 ก็ทำคล้ายๆ กันคือ เข้าไปที่ Preferences แล้วเลือก profile ที่ใช้อยู่แล้วเข้าไปที่ key แล้วเลือก ให้ปุ่ม option เป็น meta แต่มันไม่ได้เป็น meta นะสิ ต้องเลือกเป็น Esc+ แทน และ สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Option ด้านขวาหรือด้านซ้าย ต่างกับของ mac terminal ไม่สามารถเลือกได้
จากตัวอย่างผมใช้ปุ่ม option ด้านขวาเป็น Meta
เมื่อได้ ปุ่ม Meta แล้วคราวนี้เราก็พร้อมที่ลุยได้แล้ว แล้วมี short cut มีอะไรบ้างละ ? ลองกด ^G ดูครับก็จะมีรายการคำสั่งทั้งหมดที่สามารถใช้งานได้บน Nano
คราวนี้ท่านก็สามารถลองเล่นได้ละผมคงไม่ต้องลงลึกกว่านี้แล้วนะครับ แต่จะสรุปสิ่งที่ผมชอบมีดังนี้
ใช้ Mouse
ถ้าใช้ nano มาจะทราบว่าเวลาเราเลื่อนตำแหน่ง cursor จะลำบากหน่อยยิ่งบรรทัดยาวๆ นี่เหนื่อยเลย แต่ถ้าใช้ mouse ได้ก็จะ click ตรงไหนก็ได้ วิธีเปิดใช้ mouse ก็แค่กด Meta-M ปิดก็กดซ้ำอีกรอบ
M-M หรือ Meta + M
แสดงเลขบรรทัด
เป็นอีกอย่างที่ชาว nano รอคอยมานานความสามารถนี้มีมาตั้งแต่รุ่น 2.7.1 วิธีเปิดก็กด Meta-# กด Meta Shift และ #
M-#
Search & Replace
การค้นหาและแทนที่ถือเป็นสิ่งที่ช่วยในการแก้ไข text file ได้ดีทีเดียว อาจจะไม่เก่งเท่า vi แต่ก็ใช้ได้ครับ ให้ กด ^\ แล้วก็ใส่คำค้นหา และ คำแทนที่ได้เลย
^\
ลองเล่นดูครับแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน
หัดทำคลิปเล่นๆ ระหว่างรอเดินทาง อาจจะฟังยากหน่อยนะครับพูดไม่ภาษาไทยไม่ค่อยชัด :P