20 ปีก่อนเล่นอะไรกัน?
https://web.archive.org/web/19991013030653/http://maliwan.psu.ac.th:80/~s3980083/free-guest.html
ครบรอบ 20 ปีแห่งการเรียนรู้ ขอบคุณ archive.org ที่เก็บความทรงจำดีๆ ในอดีต…. กลับไปอ่านหน้าเว็บนี้แล้วความทรงจำในอดีตย้อนกลับมา เราทำอะไรได้ขนาดนี้เลยเหรอ ฮาๆ ผ่านมา 20 ปี ก็ยังมานั่งเขียนๆ อะไรแบบนั้นอยู่ จริงๆ มีอีกหลายอย่างที่เขียนไว้ตอนนั้น แต่ archive เก็บไว้ไม่หมด
ขอบคุณ maliwan.psu.ac.th ห้องเรียนใหญ่ที่มอบประสบการณ์ทุกมิติ ทั้งด้านขาว และ เทา ฮาๆ การเริ่มต้นของผมสำหรับด้านนี้ คือ พี่ๆ เพื่อนๆ รอบๆ ตัวที่นั่งเล่นอยู่ในศูนย์คอมพิวเตอร์ ของมหาลัย พี่คนโน้น ทำเว็บ พี่คนนี้เล่น irc อ้าว คนนั้นเข้า vi ชิบหายเผลอเข้า vi ตาม เจอมันค้างทำอะไรไม่ได้ จะถามก็ไม่กล้ามถามปิดเครื่องแม่มเลย ฮาๆ ผมเลยจดจำ vi ไว้ในสมองส่วนลึก แล้วใช้ pico เสมอมาจนถึงทุกวันนี้… maliwan คือสนามเด็กเล่นที่ทรงคุณค่ามากๆ พื้นฐาน Unix ได้มามากมาย
สมัยนั้นที่นิยมทำบริการบนเว็บเช่น
- บริการ finger
- บริการ web counter
- บริการ guest book / feedback
- บริการ web board
- บริการ ส่ง pager
ส่วนใหญ่จะใช้ perl ในการเขียน แต่ตอนแรกเริ่มใช้ csh shell เขียน cgi เพราะไปแอบขโมย source code ของรุ่นพี่ วจก.คอม ท่านหนึ่งน่าจะรหัส 3635xxx ผมนี่กวาดมาเกลี้ยงเลย พี่แกเก่งมากเขียน cgi ไว้เยอะเลย ผมนี่เอามาแกะศึกษาอยู่นาน แล้วก็เกิดเป็น service ต่างๆ และ ขยายต่อยอดไปศึกษา perl ตอนหลังพี่แกรู้ตัวว่าผมแอบเข้าไปส่องบ้านแก แกเลยสร้าง director หนึ่งไว้ ประมาณว่า ออกไปนะอย่ามายุ่งไอ้น้อง…แต่เป็นภาษาอังกฤษจำประโยคไม่ได้ละ… เมื่อได้วิชามาผมนี่เขียน script กวาดทั้ง server เลยใครเขียนเว็บไว้เข้าไปส่องเหี้ยน.. ก็ได้ service ขึ้นมาหนึ่งตัว คือทำหน้า index บอกว่าใครทำเว็บบ้าง แล้วมี link มี รหัสนักศึกษาอย่างดี เป็นที่นิยมมาก เข้ามาดูกันเยอะ สมัยนั้น search engine ยังไม่เก่ง google ยังเพิ่งฝักไข่มั้ง
อ้อ ลืมเล่าเรื่องการรู้จัก HTML ครั้งแรกเพราะเด็ก วจก.คอม อีกเช่นกัน เป็นรุ่นเดียวกัน วันนั้นมานั่งใกล้ๆ กันผมก็นั่งดูเค้าทำอะไร ก็เห็นเค้าเขียนๆ อะไรบน terminal แล้วก็เปิดเว็บดู เฮ้ย!! ไอ้หมอนี่เขียนเว็บได้ด้วยเก่งชิบ รหัสนักศึกษาอะไรวะ ? ..แอบดูซะหน่อย แล้วก็ได้เว็บเค้ามาอยู่ในกำมือ…ฮาๆ เริ่มจากลองเปลี่ยน title เป็นชื่อเราก่อน แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเนื้อหา ยังไม่กล้าแตะ code เดียวมันพัง ฮาๆ พอเริ่มเข้าใจก็เริ่มเปลี่ยนโน้นนี่นั้น ก็กลายเป็นเว็บของเราละ หึหึ…
หลังจากศึกษามาก็ปล่อย service ต่างๆ ออกมาให้เพื่อนๆ ใช้กัน ที่ทำแบบงงๆ คือ counter ตอนนั้นมี source code ที่เค้าปล่อยให้ download เป็นภาษา C แต่ผมนี่เขียนไม่เป็นเลย เอามา compile ใช้งานอย่าง งงๆ ที่ทำก็ทำรูปตัวเลขใหม่ เป็นชุดของเราเช่นทำเป็นตัวเลขไทยเป็นต้น เจ้าของน่าจะชื่อ Matt ถ้าจำไม่ผิด ค้นดูน่าจะใช่ http://www.scriptarchive.com/counter.html ใครทำเว็บก็เอาไปแปะได้เลย เทคโนโลยีการเก็บ database ตอนนั้นก็เป็น text file จะใช้อะไรขั้นก็ได้ นิยมใช้ | แบ่ง field ซึ่งวิธีนี้เอาไปใช้เกือบทุกอย่างมั้ง ที่ต้องเก็บข้อมูล เพราะไม่รู้จัก sql เลย เจอ traffice เยอะๆ ใน webboard นี่พังกันเลย ถ้าใช้ perl ก็จะช่วยได้หน่อยมัน lock ได้
และมาถึงยุค pager มีเว็บของค่ายต่างๆ เปิดกันเราก็ทำหน้ารวมส่ง และที่จดจำได้ดีคือ ผมทำตัวส่งบน terminal ให้เพื่อนๆ บน maliwan ได้ใช้กัน ตอนนั้นจำได้ว่าให้เพื่อนทำ symlink คำสั่งจาก home ของผมไปไว้ใน $HOME/bin ของตัวเอง แล้วก็เรียกใช้ และกลัวมีคนมาขโมย source code perl ผมใช้วิธีเขียน C ง่อยๆ ขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อไปยังเครื่อง lotus.psu.ac.th ซึ่งผมลง linux ไว้แล้วเขียน perl เก็บไว้ที่นี่ เมื่อเพื่อนส่งเข้ามา C ที่เขียนไว้ก็ส่งต่อมายังเครื่อง lotus ฮาๆ แค่นี้ก็ไม่มีใครมาขโมยได้ open source ยังไม่เกิดในจิตใจนะตอนนั้น สาเหตุที่ใช้ C เขียนตัวเชื่อมเพราะกลัวเพื่อนรู้ว่าผมส่งไปที่ไหนนั่นเอง ฮาๆ คิดได้เนอะ เพราะสมัยนั้นจะมานั่งจับ package คงมีน้อยคนที่ทำเป็น
ตอนเรียนผมเลยรู้จักกับน้องๆ วิศวะคอมเยอะเลย คนเก่งๆ ทั้งนั้นแลกเปลี่ยนความรู้กันมาตลอด ตอนนั้นก็มี pookpui เค้ารับจากทำเว็บชื่อสบายหรืออะไรนี่แหละ ทำหน้าส่ง pager ด้วย การแลกเปลี่ยนความรู้กันทำให้สนุกและ service ของเราก็มีลูกเล่นใหม่ๆมากขึ้น เช่น ตอนนั้น 162 มันใช้วิธีดัดหลัง พวกเว็บส่ง pager ด้วยวิธีการใช้ cookie ทำเอาเว็บหลายเว็บเดี้ยงกันไปเป็นแถว กว่าจะแกะได้เล่นเอามึนเลย บางเว็บก็ใช้ javascript มาดัก แต่ดันดักไว้แค่การส่งแบบ realtime แต่ตัวส่งแบบตั้งเวลาไม่ดัก เราก็เข้าไปใช้กันแบบตั้งเวลาแทน ฮาๆ สนุกดี นอกจากปุกปุย Thassanai แล้ว ยังมี itga Apisitt , เหล็ก, อ.เปิ้น Warodom , เอก กับ นู๋บี นี่รุ่นน้องไปสองรุ่นมั้ง จริงๆ ยังมีหลายคนจำชื่อไม่ได้ เหอๆ ปุกปุยตอนนี้ทำ https://www.jobbkk.com อยู่ และ ที่ขาดไม่ได้ก็คู่หูผมตอน ปีหนึ่ง ไอ้เจน เด็กวิทยา เราตั้งใจไว้ว่าเราจะเฝ้าศูนย์คอมมหาลัยกัน วันเสาร์ อาทิตย์ สองคนนี้ตื่นเช้ามากเพื่อไปศูนย์คอมกัน ตอนเรียนนี่ตื่นกันไม่ไหวตลอด ฮาๆ แต่ตอนปีสองไอ้เจนไปได้ดี วิศวะคอมที่ สุรนารี
ช่วงที่เล่น linux ก็มีกลุ่มผู้ใช้ linux ของมหาลัยรวมตัวกันชื่อ psu-lug กลุ่มนี้มีทั้งอาจารย์ บุคลากร และ นักศึกษา มี mailing list แลกเปลี่ยนความรู้กันทำให้ชีวิตการเล่น linux สนุก มีรสชาติมาก ผมติดตั้ง linux บนเครื่องเก่าๆ ของคณะเครื่องหนึ่ง เอาทำเป็น server ตอนนั้น IP ของมหาลัย ใช้ IP จริงทุกเครื่องนะครับ ทำเสร็จใครก็สามารถเข้ามาได้ ทีนี้เข้ามาเป็น IP มันไม่เท่ ผมเลยเมลไปยังผู้ดูแลของมหาลัย อ.สงกรานต์ https://www.facebook.com/songkrant ว่าขอ domain หน่อยได้ไหมครับผมจะเอามาศึกษา linux ขอชื่อว่า lotus.psu.ac.th นะครับ ฮาๆ สัญลักษณ์ของคณะผมคือ ดอกบัวหลวง เลยขอชื่อ lotus ไม่น่าเชื่อว่าได้รับการตอบกลับว่าได้ แล้วก็สร้าง domain ให้ผมด้วย เลยรู้จัก linux และใช้ชีวิตกับมันมาโดยตลอด psu-lug ทำให้ได้รู้จักอาจารย์ และ บุคลากรหลายคน อ.วิภัทร (ตอนนี้ท่านบวชไม่สึก) อ.cj chatchai , พี่ป้อม Siripong, พี่ป้อม อีกคน , อ.ปัญญรักษ์ Panyarak , อ.Worawut และอีกหลายคน
ตอนปี 4 ใกล้จบศูนย์คอมเค้ารับนักศึกษาเป็น help desk เลยไปสมัครได้เล่นคอมฟรี แถมได้ตังกินหนมด้วย เป็นงานสบายมากเพราะเพื่อนๆ ไม่ค่อยถามอะไร ส่วนใหญ่ก็พวก print ไม่ออก กระดาษติด อะไรพวกนั้น พี่เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมใจดี
หลังๆ ก็เล่นเว็บตาม host free ที่ตามเก็บได้ก็มี
เสียดายอันนี้ไม่ได้ใส่ charset ไว้มันเลยเข้ารหัสไม่ถูก
และประการณ์ทำงานครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของทีม OpenTLE
เคยแอบเขียน blog ไว้บน OpenTLE ด้วย
ปล. ความหลังบน Maliwan นี่เคยเขียน blog ไว้หลายรอบแล้วมั้ง เขียนได้เรื่อยๆ ฮาๆ